จารุณี หนูละออง และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2561). พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง =: Behavior of domestic animals. ยะลา: ศูนย์ส่งเสริมการทำผลงานวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 260 หน้า.
พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง
= Behavior
of domestic animals พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง
การกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์
เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งที่มากระตุ้น (Stimulus) อาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกกระตุ้นมาแล้วระยะหนึ่ง
การเรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์ทำให้มนุษย์ล่าสัตว์กินเป็นอาหารได้แทนที่จะเป็นผู้ถูกล่า
เพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของหรือ Darwinian fitness มนุษย์
และสัตว์จะแสดงพฤติกรรมไปในทางที่ทำให้เกิด fitness สูงสุดต่อตัวเอง
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมได้แก่ ยีน (Gene) และสิ่งแวดล้อม
การศึกษาพฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ Ethology และBehavioral
Ecology โดยพฤติกรรมจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Innate behavior) แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิด
เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน
มีแบบแผนเดียวกัน (Stereotyped) ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนโดยการเรียนรู้
มีลักษณะเฉพาะของแต่ละ สปีชีส์ (Species-specific) พฤติกรรมการเรียนรู้
(Learning behavior) สามารถปรับเปลี่ยนได้อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์
ไม่ใช่เกิดจากการที่สัตว์มีอายุมากขึ้น (Maturation) พฤติกรรมการเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากทั้งยีนและสิ่งแวดล้อม
เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
บริการที่ชั้น
3 เลขเรียกหนังสือ 636
บรรณานิทัศน์โดย
กาญจนา นันตรัตน์