ตูนิซ, คลาวดิโอ, และ พาทริเซีย
ทิเบริ วิปรัยโย. (2565). จากลิงสู่ AI : มุมมองใหม่ต่อวิวัฒนาการแห่งมวลมนุษย์ (พลกิตต์
เบศรภิญโญวงศ์, ผู้แปล). นนทบุรี: วารา พับลิชชิ่ง. 401
หน้า.
นำเสนอความเข้าใจอันน่าหลงใหลต่อชีวิตของบรรพบุรุษของพวกเรา
ตลอดจนค้นหาความจริงเกี่ยวกับกระบวนการอันเป็นพลวัต
ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาสังคมมนุษย์ที่ซับซ้อน
ทั้งยังได้ให้มุมมองแบบองค์รวมต่อประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติและวิวัฒนาการทางสังคม
โดยการดึงหลักฐานชิ้นล่าสุดจากวิทยาการแขนงต่างๆ ในวงกว้าง และนำเสนอสมมุติฐานใหม่ๆ
ต่อต้นกำเนิดแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ หลังจากการสำรวจการเผชิญหน้าระหว่าง "โฮโม
เซเปียนส์" กับมนุษย์ "สปีชีส์" อื่นๆ
แง่มุมอันหลากหลายของชีวิตในสังคมที่อุบัติขึ้น ซึ่งได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม การงาน
เวลาว่าง การเรียนรู้ อาหาร โรคภัย และบทบาทของสตรีได้ถูกนำมาศึกษา
ผู้เขียนได้มุ่งเน้นไปที่บทบาทสำคัญของการพัฒนาคน จากสัตว์ป่าสู่สัตว์บ้าน
กระบวนการ ซึ่งลดทอนความก้าวร้าวตามธรรมชาติ และเพิ่มพูนท่าทีอันเป็นมิตรในการนำไปสู่ความอยู่รอด
จุดมุ่งเน้นอีกอย่างคือ "โฮโม อีโคโนมิคัส"
นอกจากนี้
ความสำคัญของความคิดเชิงสัญลักษณ์ต่อการอุบัติของส่วนเกินในสินค้าและบริการยังถูกเน้นย้ำ
พร้อมกับการวิเคราะห์ว่า สิ่งนี้นำไปสู่การสะสมความมั่งคั่งส่วนบุคคล
และการพัฒนาสังคมแบบลำดับชั้นในยุคแรกได้อย่างไร ท้ายที่สุดการอภิปรายในหนังสือได้มุ่งไปแห่งมนุษย์อนาคต
และความเสี่ยงที่เป็นไปได้ ซึ่งมีสาเหตุจากปัญญาประดิษฐ์
วัตถุประสงค์คือการเปิดเผยรากเหง้าที่อยู่ลึกลงไปของพฤติกรรมทางสังคมของเรา
และวิถีทางที่มันกำลังจะเกี่ยวพันกับพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายสังคม
บริการที่ชั้น
4 เลขเรียกหนังสือ 599.9 ต662จ ฉ.1-2
(2565)
บรรณานิทัศน์โดย พิชญาภัค
โชคพัฒนสกุล